บัตร Mifare

มาตรฐาน ISO14443A หรือ Mifare เป็นมาตรฐาน RFID ที่ความถี่ 13.56 MHz
เหมาะสำหรับงานต้องการเก็บข้อมูลไว้ที่บัตร มีระบบ Login ก่อนเขียนหรืออ่านข้อมูลที่บัตร
บัตร Mifare 1K 13.56MHz White Card Tag 

55

 

 

 

           

 

 

 

 

 

 

ก่อนที่เราจะใช้งาน RFID ประเภท Mifare จำเป็นจะต้องทราบถึงรายละเอียดของบัตรก่อนจึงจะสามารถใช้งานบัตรได้ถูกต้อง

โครงสร้างข้อมูลของบัตร Mifare ขนาด 1 KByte มีดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จาก ภาพแสดงรูปแบบข้อมูลบนบัตร Mifare จะเห็นได้ว่า บัตรจะแบ่งข้อมูลออกเป็นเซ็คเตอร์ (Sector) ทั้งหมด 16 เซ็คเตอร์ (ตั้งแต่ 0 ถึง 15)

ในแต่ละเซ็คเตอร์ประกอบด้วยชุดข้อมูล 4 บล็อค (Block) โดย บล็อคต่างๆ เก็บข้อมูลบนบัตรดังนี้
1. Sector 0 Block 0 เก็บข้อมูลของบัตรหรือค่า UID (Unique Identifier) ขนาด 16 บิต สามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถเขียนได้

58

 

 

 

 

 

 

 

2. Block 0, 1, 2 ของทุก Sector (ยกเว้น Sector 0 ที่ใช้ได้เฉพาะ Block 1,2) ใช้เก็บข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการเขียน-อ่านบัตร

โดยบัตร Mifare ยังมีฟังชั่น Value Block เขียนข้อมูลลงไปเฉพาะ 4 ไบต์แรก (ไบต์ที่ 0-3)

และ Backup ข้อมูลไว้ที่ไบต์ที่ 8-11 Invert ข้อมูลไว้ในไบต์ 4-7 เก็บข้อมูลตำแหน่ง (Address) ของ Block ขนาด 1 ไบต์ไว้ที่ไบต์ที่ 12 กับ 14 และ Invert ข้อมูลตำแหน่งไว้ที่ 13 กับ 15
ฟังก์ชั่น Value Block เหมาะสำหรับระบบที่ต้องการความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูล

ไม่ต้องการใช้ข้อมูลทั้ง Block ต้องการเพียงเขียน อ่าน เพิ่ม หรือลด และมีระบบป้องกันข้อมูล เหมาะสำหรับระบบคิดเงินในศูนย์อาหารระบบบัตรคูปอง


59

 

 

 

 

3. Block 3 ในแต่ละ Sector เก็บข้อมูลสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลใน Block นั้น ประกอบด้วย
        - Key A เก็บรหัสการเข้าถึงข้อมูลของบัตร เก็บไว้ที่ Block 3 Byte ที่ 0 – 5
        - Key B เก็บรหัสการเข้าถึงข้อมูลของบัตร เก็บไว้ที่ Block 3 Byte ที่ 11 – 15
        - Access Bits เป็นค่าที่ใช้กำหนดสิทธิ์ของ Key A และ Key B สามารถอ่าน/เขียน Block ไหนได้บ้าง ใน Sector นั้น เช่นผู้ใช้บัตรอาจกำหนดให้ ตนเองถือ Key A อยู่ซึ่ง กำหนดสิทธิ์ใน Access bits แล้วให้สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลได้

แต่ผู้ใช้ทั่วไปถือ Key B สามารถอ่านข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว